กลยุทธ์การลงทุน XAUUSD ประจำวันที่ 2 ก.ค.2568
2 ก.ค. 2025
Day ราคาทองคำวานนี้ ดีดขึ้น จาก 2 ปัจจัย ทั้งการ 1. อ่อนค่าของ USD (DXY) อันเนื่องจาก
– ผ่านร่างกฎหมาย OBBB ระดับวุฒิสภา ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ทรัมป์เสนอให้ลดการเก็บภาษีเงินได้(ส่วนบุคคลและนิติบุคคล)ครั้งใหญ่ที่สุดในอเมริกา ซึ่งทำให้รายได้สหรัฐ หายไป $ 4.5 ล้านล้าน ในเวลา 10 ปี (ปกติหนีสาธารณะสหรัฐเฉลี่ยอยู่ที่ $30-35 ล้านล้าน ต่อปี)
– ตลาดคาดการณ์ว่า FED จะมีการปรับลดดอกเบี้ย เร็วขึ้น และมากกว่า 0.25% ต่อครั้ง หลังจากที่ทรัมป์ โจมตี เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดอย่างหนัก ตลอดจนแนวคิด Shadow Fed Chair (หาคนมาช่วยกดดันเฟด)
2. สัญญาณซื้อทางเทคนิค หลังจากที่ราคาลงไปทดสอบ $3247 (เป้า Fibo Ex 161.8-200%) ปรากฎสัญญาณ Bullish Divergence บริเวณ Oversold /แม่ว่าในช่วงค่ำราคาย่อตัวลงมา – ถึงเช้านี้ ที่ $3328 จากถ้อยแถลงพาวเวล์ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดี จึงดดันราคาทองคำลง
ทางเทคนิค แม้ว่าราคาทองคำ ใน TF H4 จะสามารถ ยืนเหนือ Channel Down trendได้ แต่ต้องรอการปิดเหนือ จุด Choch ที่ $3350 ก่อนจึงจะยืนยันสิ้นสุดโครงสร้างขาลงระยะสั้น ทั้งนี้ยังมีแนวต้านที่แข็งแรงบริเวณ 3407-3374 ซึ่งเป็น QM Zone Day I เนื่องจาก TF Day มีการเสียโครงสร้างเทรนขาขึ้น อาจจะมีการย่อตัวลงในระดับนี้ เว้นจะมีปัจจัยข่าวช่วยเสริมให้ราคาดีดเหนือจุดนี้ขึ้นไปได้
พาวเวล สวนกลับยังไม่รีบลดดอกเบี้ย หากตัวเลขเศรษฐกิจไม่ชัดเจน …. ปัจจัยบวก USD ปัจจัยกดดันราคาทองคำ
- ทรัมป์เดินหน้ากดดัน เจอโรม พาวเวล์ ให้รีบลดดอกเบี้ย โดยกล่าวว่าเขามีตัวเลือกอันดับต้น 2-3 คน ที่จะมาแทนที่เจอโรม พาวเวลล์ (เควิน วอร์ช อดีตผู้ว่าการเฟด / เควิน แฮสเซตต์ ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ / กอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลัง)
- ก่อนหน้า การแถลงของ FED ทรัมป์ เสนอแนวคิด “Shadow Fed Chair” คือ หาบุคคล มาทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือ กดดัน FED ให้ดำเนินตามแนวทางของฝ่ายบริหาร เนื่องจากทรัมป์ ไม่พอใจการทำงาน ของ เจอโรม พาวเวล์ ที่ไม่รีบตัดสินใจลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเป็นการลดต้นทุนหนี้ ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ยังส่งดอกเบี้ย ของธนาคารกลางแต่ละเประเทศ และเขียนลายมือย้ำ ต้องการ ให้ดอกเบี้ยอยุ่ระหว่าง 0.5% (BOJ) – 1.75% (BOD)
- เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า “Fed น่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินไปแล้ว หากไม่มีแผนภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” ทั้งนี้จำเป็นต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจ จากผลกระทบจากนโยบายภาษีทรัมป์ก่อน ยันไม่รีบร้อน เศรษฐกิจสหรัฐ ยังคงแข็งแกร่ง แต่ต้องจับตาผลกระทบจากภาษีนำเขาสินค้าจากนโยบายทรัมป์ ก่อนจะลดดอกเบี้ย ด้วยความมุ่งมั่นในการควบคุมเงินเฟ้อ รักษาตลาดแรงงาน และไม่อ่อนไหวต่อแรงกดดันทางการเมือง
- สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ภายในเดือนก.ย.
การเจรจาการค้า สรัฐ – นานาประเทศ ก่อนเส้นตาย 9 ก.ค.… ตลาดยังรอดูผลการเจรจาการค้าที่สำเร็จ และมาตราการกับประเทศที่เจรจาไม่สำเร็จ
- ทรัมป์ ย้ำ “เส้นตาย 9 ก.ค. นี้ สำหรับประเทศไม่บรรลุข้อตกลงได้ โดยจะมีการปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% และสำหรับประเทศที่เลือกจะไม่เจรจาการค้ากับสหรัฐ จะด้องโดนภาษี ฝ่ายเดียว ที่สหรัฐจะเป็นผู้เรียกเก็บ ตามวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งรวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย
- สหรัฐ- ญี่ปุน : •การเจรจาการค้า ไม่คืบหน้า ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญ ภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากสหรัฐ 25% ภาษีเหล็กอะลูมิเนียม 50% ในขณะที่ญี่ปุ่น “ไม่ยอมรับการนำเข้าจากสหรัฐ” ทั้งนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนข้าวอย่างหนัก จากปัญญา เกษตรกรวัยชรา และ มวลอากาศร้อน จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
- ในขณะที่อาจจะมี การเลือนกำหนดเส้นตาย ออกไปสำหรับประเทศคู่ค้าหลักที่กำลังเจรจาการค้าในขณะนี้
– สหรัฐ – แคนาดา : เลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 21 ก.ค. นายกรัฐมนตรี แคนาดา มาร์ คาร์นีย์ ตัดสินใจยกเลิกการเก็บภาษีบริการดิจิทัล ( Digital Service Tax )3% กับบริษัทเทคโนโลยี สหรัฐ ในวันจันทร์ทีผ่านมา ทั้ง Meta Amazon Google Uber (เป็นเวลา 5 ปี) เพื่อหวังกลับมาเจรจาช้อตกลงการค้าฉบับใหม่
– สหรัฐ – สหภาพยุโรป : •การเจรจายังคงไม่มีความคืบหน้าชัดเจน สหรัฐต้องการให้ ยุโรป ผ่อนคลาย กฎระเบียบเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียและบริษัทเทคโนโลยี ในขณะที่ยูโรยังคงปฎิเสธ เพราะเชื่อ “การปกป้องสิทธิพลเมือง เป็นเรื่องจำเป็นต่อประชาธิปไตย” ทั้งนี้ EC ดำเนินคดี กับบริษัท
* Meta(Facebook) ของสหรัฐ ข้อหา “ละเมิดการต่อต้านการผูกขาด ตลาด ดิจิทัล”
* Nvidia ของสหรัฐ ฝรั่งเศส ตั้งข้อหา “ ดำเนินการต่อต้านการแข็งขัน “การค้าแบบเสรี” ด้วยการใช้ AI อย่างไม่เป็นธรรม
– สหรัฐ – อินเดีย : ยังคงติดปัญหาเพียงแค่เรือง ฝ่าย ยังไม่สามารถบรรลุได้ สหรัฐฯ ที่ต้องการให้อินเดียเปิดตลาดพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งอินเดียปฏิเสธ โดยอ้างถึงความเสี่ยงต่อเกษตรกร ในขณะเดียวกัน อินเดียไม่เต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลงที่ไม่ครอบคลุมภาคส่วนเกษตรกรรม ซีง่ยืนยันเว่าเป็น “เส้นแดง”ของตน ที่จะไม่ถูกข้าม
– สหรัฐ – จีน : จีนต้องการให้การเจรจาการค้า ระหว่าง สหรัฐ – จีน เกิดขึ้นโดยมี WTO เป็นแพลตฟอร์มตัวกลาง เรียกร้องให้นานาชาติเจรจากับสหรัฐแบบ “พหุภาคี” (มีตัวกลาง) ในขณะที่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลัง สหรัฐ ระบุว่า หลังจากการเจรจาการค้า สหรัฐ-จีน ในเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน แร่หายากจากจีน ยังคงไม่กลับมาสู่ระดับปกกติ ก่อน 4 เม.ย. “หวังว่าจีน จะปฎิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้”
ทรัมป์ประกาศยกเลิก การคว่ำบาตรซีเรีย … สถานะการณ์ความตึงเครียดภูมิศาสตร์ที่สงวนท่าที
- 1 ก.ค. สหรัฐฯ ยกเลิกการจำกัดนำเข้าน้ำมันจากซีเรีย ก่อนหน้านี้ ซีเรียเคยส่งออกน้ำมันประมาณ 380–400 พันบาร์เรลต่อวัน ก่อนสงคราม แต่ตอนนี้ผลิตเหลือเพียงราว 90 พันบาร์เรลต่อวัน(ปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดโลก)
- มาตราการคว่ำบาตรซีเรีย ตั้งแต่ปี 2011 จากการที่่ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามกลางเมือง นอกจากนี้มีการใช้อาวุธเคมี โจมตีพลเรือน /8 ธ.ค. 24 ถูกโค่นอำนาจ กลายเป็นผู็พลัดถื่นในรัสเซีย ส่งผลให้ ทรัมป์ประกาศยกเลิกคว่ำบาตร เพื่อลดบดบาท รัสเซีย จีน และอิหร่าน ในตะวันออกกลาง
- ทรัมป์ ประกาศ “อิสลาเองตกลงทำตามเงื่อนไข ข้อตกลงหยุดยิง 60 วันในฉนวนกาซ่า และหวังว่า ฮามาสจะรับข้อตกลงนี้เช่นกัน”
H4/H1 โครงสร้างเป็นเทรนด์ขาลง วานนี้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นเหนือ กรอบ Channel Downtrend หากราคาสามารถปิดแท่ง H4 เหนือย $3350 ได้ จะถือว่าเป็นจุด CHoch (สิ้นสุดโครงสร้าง) ได้สำเร็จ ทั้งนี้การดีดตัวขึ้นมาอาศัยแรงซื้อทางเทคนิค (Bullish Divergence) กับปัจจัยข่าวที่กดดัน USD(DXY) ช่วงค่ำวานนี้ ปัจจัยบวกต่อ USD(DXY) จากข่าวประกาศที่ดีต่อ USA และการประกาศไม่รีบลดดอกเบี้ยของ เจอโรม พาวเวล์ ส่งผให้ราคาทองคำย่อลงมาในขณะนี้
คำแนะนำ
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 3328-3336/ SL 3320 เพื่อทำกำไรที่ 3341/3350/3358/3363/3370
- เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 3315-3308 / SL 3300 เพื่อทำกำไรที่ 3324/3340/3353/3361/3370
- เปิดสถานะขาย หากราคาไม่ย้อนกลับมาให้เข้าซื้อ (รอสัญญาณขาย) ที่กรอบ 3407-3374 / SL 3415 เพื่อทำกำไรที 3370/3366/3365/3360/3355
แนวรับ 3307/3278/3247
แนวต้าน 3350/3374/3406

ปฎฺิทินเศรษฐกิจ 2 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว
- ติดตามตัวเลข APD Non-Farm การจ้างงานนอกภาคการเกษตร หากตัวเลขออกมามากว่าคาดการณ์ (ชนิดเกินคาดหมาย) จะเป็นปัจจัยบวกต่อ USD และกดดัน GBP แต่หาก ตัวเลขออกมาใกล้เคียงหรือน้อยกว่า เดือนก่อนหน้า ปัจจัยลบต่อ USD ซึ่งเป็นบวกต่อ GBP แต่ทั้งนี้ เนื่องจาก การประกาศ Nonfarm จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ จะมีขึ้นในวันพรุ่่งนี (ย้ายจากวันหยุดวันศุกร์สหรัฐ) อาจจำทำให้วันนี้มีโอกาสที่จะไม่ผันผวนเท่าวันพรุ่งนี้
โดย Trin Anuwattanawong