กลยุทธ์การลงทุน Crude Oil (WTI) ประจำวันที่ 3 ก.ค. 2568

3 ก.ค. 2025

Day โครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น วานนี้ตลาดเช้า – บ่าย ราคาน้ำมันพยายามขึ้นมาทดสอบ กรอบแนวต้านที่ให้ไว้ 65.482 -65.916 ก่อนปรับตัวร่วงลงเล็กน้อยจาก ตัวเลขประกาศ ปริมาณน้ำมันคงคลัง EIA (ออกมาเช่นเดียวกัน API Report) ช่วงค่ำราคาน้ำมันได้รับอานิสงค์จากการอ่อนคา่ของ USD(DXY) หลังการประกาศตัวเลข ADP Nonfarm ต่ำกว่าคาด ส้งผลให้ราคาน้ำมันมีแรงดีดเอาชนะแรงต้านขึ้นไปได้ ประกอบกับ “อิหร่านระงับความร่วมมืองานเผ้าระวังนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ” ประกอบกับผลการบรรลุข้อเจรจาการค้า สหรัฐ-เวียดนาม ปิดแท่งรายวันวานนี้ Bullish Marubozo พร้อมกับปริมาณ การซื้อ-ขาย ที่มากขึ้นเช่นกัน
ก่อนจะมีการร่วงลงมาในเช้าวันนี้ หลังการอันเนืองจากนักลงทุนเทขายหุ้น IT ในฮ่องกง ประกอบกับตัวเลข Service PMI จีนทีออกมาต่ำกว่าคา

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือน ส.ค. ปิดตลาดที่ 67.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงขึ้น 3.1%

นักลงทุนจากจีนขายหุ้นของ IT ในฮ่องกง มูลค่า $5.9 พันล้าน … ปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน

  • นักลงทุนจีน เทขายหุ้น Tencent, Xiaomi และ Alibaba ในฮ่องกง สูงที่สุดในรอบปี เพือรอปัจจัยใหม่ๆทางด้านนวัตกรรม ของสามบริษัทนี้ ในขณะที่ การแข่งขัน อีคอมเมิร์ชและ IT ของจีน ยังคงร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง
  • ประกาศตัวเลข ดัชนีผู้้จัดการฝ่ายผลิต – ภาคบริการ ออกมา น้อยกว่าคาด และ น้อย กว่า เดือนก่อนหน้า คาดเศรษฐกิจจีน ยังคงอยู่ในสภาวะชะลอตัว

EIA Weekly Report ปริมาณน้ำมันดิบคงกลัง สูงเกินคาด …. กดดันราคาน้ำมัน

  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง เพิ่มขึ้น 3.8 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 419 ล้านบาร์เรล
  • น้ำมันเบนซิน (Gasoline) คลังเพิ่ม +4.2 ล้านบาร์เรล และ ดีเซล/น้ำมันทำความร้อน (Distillate) ลดลง –1.7 ล้านบาร์เรล
  • ส่งสัญยาณ Bearish กดดันราคาน้ำมันให้อ่อนตัว อีกทั้งปริมาณเบนซินที่เพิ่มขึ้น สะท้อนอุปสงค์ (ความต้องาการน้ำมัน) ที่ลดลง แม้ว่าจะมีสัญญาณการขนส่งที่ดีขึ้น

OPEC+ เตรียมประกาศเพิ่มกำลังการผลิตในเดือนส.ค. ในการประชุม วันที่ 6 ก.ค.  … กดดัน ราคาน้ำมัน

  • OPEC+ ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้งในปริมาณที่  411,000 บาร์เรลต่อวัน หากอนุมัติ ปริมาณการผลิต รวม เท่ากับ 1.78 ล้านบาร์ต่อวัน (1.5% ของอุปสงค์ความต้องการน้ำมันทั่วโลก)
  • วัตถุประสงค์ กลับมาครองส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากขึ้น
  • เนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีบางประเทศผลิตเกณฑ์โควต้าของประเภท ภายหลัง OPEC+ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตให้กับประเทศสมาชิกที่เคารพกฎ การผลิตให้เท่ากับประเทศที่ผลิตเกินกำหนด ซึ่งบางประเทศอาจต้องใช้เวลาที่นานขึ้น เพื่อจะผลิตให้เข้าตามมาตราฐานเดิมกำหนด

การเจรจาการค้า สรัฐ – นานาประเทศ ก่อนเส้นตาย 9 ก.ค. … ปัจจจัยบวกต่อราคาน้ำ้มันหากมีการบรรลุข้อตกลงทางการค้า

  • สหรัฐ-เวียดนาม บรรลุข้อตกลงกทางการค้า โดยสินค้านำเข้าจากเวียดนาม เข้าสหรัฐ (Made in Vietnam) คิดภาษี 20% ในขณะทีสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในเวียดนาม(แต่ส่งผ่านเวียดนาม) คิดภาษีนำเข้า 40% / สินค้าจากสหรัฐ ส่งไปเวียดนาม “ปลอดภาษี”
  • สหรัฐ กำลังเร่ง การเจรจาอย่างเข้มข้น กับคู่ค้าสำคัญในเอเซียและยุโรปก่อน เส้นตาย 9 ก.ค. ทั้งนี้ หลังเส้นตาย สำหรับประเทศไม่บรรลุข้อตกลงได้ โดยจะมีการปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% และสำหรับประเทศที่เลือกจะไม่เจรจาการค้ากับสหรัฐ จะด้องโดนภาษี ฝ่ายเดียว ที่สหรัฐจะเป็นผู้เรียกเก็บ ตามวันที่  2 เม.ย. ซึ่งรวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย
  • สหรัฐ- ญี่ปุน : •การเจรจาการค้า ไม่คืบหน้า ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญ ภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จากสหรัฐ 25% ภาษีเหล็กอะลูมิเนียม 50% ในขณะที่ญี่ปุ่น “ไม่ยอมรับการนำเข้าจากสหรัฐ” ทั้งนี้ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนข้าวอย่างหนัก จากปัญญา เกษตรกรวัยชรา และ มวลอากาศร้อน จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
  • ในขณะที่อาจจะมี การเลือนกำหนดเส้นตาย ออกไปสำหรับประเทศคู่ค้าหลักที่กำลังเจรจาการค้าในขณะนี้
    – สหรัฐ – แคนาดา : เลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 21 ก.ค. นายกรัฐมนตรี แคนาดา มาร์ คาร์นีย์ ตัดสินใจยกเลิกการเก็บภาษีบริการดิจิทัล ( Digital Service Tax )3% กับบริษัทเทคโนโลยี สหรัฐ ในวันจันทร์ทีผ่านมา ทั้ง Meta Amazon Google Uber (เป็นเวลา 5 ปี)  เพื่อหวังกลับมาเจรจาช้อตกลงการค้ากับสหรัฐอีกคร้ง ในขณะที่ วานนี้ 2 ก.ค. ได้จัดประชุม หารือกับผู้บริหารสูงสุด อุตสาหกรรมยานยนต์ แคนาดา เพื่อช่วยเหลือโรงงาน หาก การเจรจาการค้า “ล้มเหลว” พร้อมเตรียมตอบโต้ทางการค้า “Counter- tariffs”
    – สหรัฐ – สหภาพยุโรป : เร่งการเจรจาระดับ “หลักการ” โดยเบื้องต้น ยึดกรอบ 10% พื้นฐาน และ โดยขอยกเว้น (หรือกำหนดโควตา) สำหรับสินค้านำเข้าสหรัฐบางรายการ เช่น รถยนต์ ยา อาหารแปรรูป นอกจากนี้ัยังติด ตรงที่
    1. EU ไม่ยอมอ่อนข้อเรื่อง Digital Services Act (DSA) และ Digital Markets Act (DMA) ซึ่งควบคุม Big Tech ของสหรัฐ อย่างเข้มงวด
    2. EU ไม่ยอมนำเข้า เนื้อวัวดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs), ฮอร์โมน จากสหรัฐ
    – สหรัฐ – อินเดีย : ยังคงติดปัญหาเพียงแค่เรือง ฝ่าย ยังไม่สามารถบรรลุได้ สหรัฐฯ ที่ต้องการให้อินเดียเปิดตลาดพืชผลดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งอินเดียปฏิเสธ โดยอ้างถึงความเสี่ยงต่อเกษตรกร ในขณะเดียวกัน อินเดียไม่เต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลงที่ไม่ครอบคลุมภาคส่วนเกษตรกรรม ซีง่ยืนยันเว่าเป็น “เส้นแดง”ของตน ที่จะไม่ถูกข้าม
    – สหรัฐ – จีน : จีนต้องการให้การเจรจาการค้า ระหว่าง สหรัฐ – จีน เกิดขึ้นโดยมี WTO เป็นแพลตฟอร์มตัวกลาง เรียกร้องให้นานาชาติเจรจากับสหรัฐแบบ “พหุภาคี” (มีตัวกลาง) ในขณะที่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รมต คลัง สหรัฐ ระบุว่า หลังจากการเจรจาการค้า สหรัฐ-จีน ในเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน แร่หายากจากจีน ยังคงไม่กลับมาสู่ระดับปกกติ ก่อน 4 เม.ย. “หวังว่าจีน จะปฎิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้”

ทรัมป์ประกาศยกเลิก การคว่ำบาตรซีเรีย … ปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน เล็กน้อย

  • 1 ก.ค. สหรัฐฯ ยกเลิกการจำกัดนำเข้าน้ำมันจากซีเรีย ก่อนหน้านี้ ซีเรียเคยส่งออกน้ำมันประมาณ 380–400 พันบาร์เรลต่อวัน ก่อนสงคราม แต่ตอนนี้ผลิตเหลือเพียงราว 90 พันบาร์เรลต่อวัน(ปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดโลก)
  • มาตราการคว่ำบาตรซีเรีย ตั้งแต่ปี 2011 จากการที่่ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามกลางเมือง นอกจากนี้มีการใช้อาวุธเคมี โจมตีพลเรือน /8 ธ.ค. 24 ถูกโค่นอำนาจ กลายเป็นผู็พลัดถื่นในรัสเซีย ส่งผลให้ ทรัมป์ประกาศยกเลิกคว่ำบาตร เพื่อลดบดบาท รัสเซีย จีน และอิหร่าน ในตะวันออกกลาง
  • ทรัมป์ ประกาศ “อิสลาเองตกลงทำตามเงื่อนไข ข้อตกลงหยุดยิง 60 วันในฉนวนกาซ่า และหวังว่า ฮามาสจะรับข้อตกลงนี้เช่นกัน”

H4 /H1 : สิ้นสุดโครงสร้างเทรนด์ขาขึ้น ราคาเคลื่อนที่ออกข้างในลักษณะ sideway เน้นการทำกำไรในกรอบสั้นๆ

คำแนะนำ

  • เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ) ที่กรอบ 65.955-65.368/ SL 64.000 เพื่อทำกำไรระยะสั้น 66.255/66.655/67.025/67.355
  • เปิดสถานะซื้อ (รอสัญญาณซื้อ )ที่กรอบ 65.121-64.648/ SL 64.000 เพื่อทำกำไรระยะสั้น 65.375/65.773/66.255/66.655/67.025/67.355
  • เปิดสถานะขาย (รอสัญญาณขาย)ที่กรอบ 67.405-68.697/ SL 69.000 เพื่อทำกำไรที่ 69.846/65.869/64.810/63.010

แนวรับ 64.586/62.437/60.473

แนวต้าน 68.622/70.231/72.158

ปฎฺิทินข่าวเศรษฐกิจ 3 ก.ค.2568

บทวิเคราะห์ข่าว

  • ติดตามประกาศตัวเลข การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ควบคู่ไปกับ ตัวเลข อัตราการว่างงาน หากออกมาในทิศทางที่เป็นบวกทั้งคู่ จะส่งผลดี ต่อ USD (DXY) และ ราคาน้ำมัน ซึ่งจะสะท้อนเศรษฐกิจ ที่มีการขยายตัว / แต่หากตัวเลขออกมาแย่ทั้งคู่ (Non farm น้อย) อัตรากการว่างงาน มากกว่า 4.2 จะเป็นปัจจัยกดดันราคา USD(DXY) ราคาน้ำมันในฐานะสินทรัพย์จับคู่ USD อาจได้อานิสงค์บวก
  • ติดตามตัวเลข Service PMI หากออกมา มากกว่าคาดการณ์ จะส่งผลบวกต่อ USD และราคาน้ำมัน

โดย Trin Anuwattanawong